ค้นเจอ 421 รายการ

กรรสะ

หมายถึง[กัน-] (ราชา) ก. ไอ, ใช้ว่า ทรงพระกรรสะ. (ป. กาส; ส. กาศ).

ขุนหลวง

หมายถึง(โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).

ปรตยาค

หมายถึง[ปฺรดตะยาก] (กลอน) ก. ประจาค, บริจาค. (ส. ปฺรตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).

ตยาค

หมายถึง[ตะยาก] (แบบ) น. การสละ, การให้ปัน, เช่น อันมีใจตยาคนั้น. (ม. คำหลวง กุมาร). (ส.).

กฎหมายเหตุ

หมายถึงน. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ; โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.

นาฏ,นาฏ-

หมายถึง[นาด, นาตะ-, นาดตะ-] น. นางละคร, นางฟ้อนรำ, ใช้ประกอบกับคำอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.).

ท้องขาว

หมายถึงน. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาวเชิงชายเขียน. (พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียวชายกรวย. (พงศ. เลขา).

ษัฏกะ

หมายถึง[สัดตะกะ] น. หมวด ๖ คือรวมสิ่งละ ๖. (ส.; ป. ฉกฺก).

ปริตยาค

หมายถึง[ปะริดตะยาก] (แบบ) ก. บริจาค. (ส. ปริตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).

จิตวิทยา

หมายถึง[จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.

ตรีสัตกุลา

หมายถึง[-สัดตะ-] น. ตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดำ ผักชีลา ขิงสด.

บรรพต-

หมายถึง[บันพดตะ-] น. ภูเขา. (ส. ปรฺวต; ป. ปพฺพต).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ