ค้นเจอ 377 รายการ

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

เวไนย

หมายถึงน. ผู้ควรแนะนำสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).

สัทธรรม

หมายถึง[สัดทำ] น. คำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระสัทธรรม, ธรรมของสัตบุรุษหรือคนดี. (ส. สทฺธรฺม; ป. สทฺธมฺม).

ราชบัณฑิต

หมายถึง[-บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.

จตุร,จตุร-

หมายถึง[จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).

เขียนไทย

หมายถึงน. วิชาเขียนภาษาไทยตามคำบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.

วอกแวก

หมายถึงว. อาการที่จิตใจไม่จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาฟังครูสอนมีสิ่งรบกวนทำให้จิตใจวอกแวก.

สาธิต

หมายถึงก. แสดงเป็นตัวอย่าง เช่น สาธิตการสอน สาธิตการทำขนม. ว. ที่แสดงเป็นตัวอย่าง เช่น แปลงสาธิต โรงเรียนสาธิต. (ส., ป. ว่า ให้สำเร็จ).

ผณินทรสมพัตสร

หมายถึง[ผะนินทฺระสมพัดสอน] น. ปีงูใหญ่, ปีมะโรง. (ป. ผณิ + ส. อินฺทฺร + ส. สํวตฺสร).

ศิกษก,ศิกษกะ

หมายถึง[สิก-สก, สิกสะกะ] น. ผู้เล่าเรียน; ครู, ผู้สอน; ผู้รู้. (ส.).

ศิษย์นอกครู

หมายถึง(สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.

ปฏิ,ปฏิ-

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ