ค้นเจอ 398 รายการ

บรรพ,บรรพ-,บรรพ-

หมายถึง[บับ, บับพะ-] น. ข้อ, ปล้อง, เล่ม, หมวด, ภาค, ตอน, กัณฑ์; ขั้นบันได; ระยะหรือเวลาที่กำหนด. (ป. ปพฺพ; ส. ปรฺวนฺ).

ประท้วง

หมายถึงก. กระทำการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้านเพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.

จัด

หมายถึงก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทำให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลำดับ, เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.

สารานุกรม

หมายถึงน. หนังสือที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงหรือเฉพาะแขนงใดแขนงหนึ่ง มักเรียงตามลำดับอักษร.(อ. encyclopaedia).

ไปรษณีย,ไปรษณีย-,ไปรษณีย์

หมายถึง[ไปฺรสะนียะ-, ไปฺรสะนี] น. วิธีการส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของเป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง. (ส. เปฺรษณีย).

เพลงยาว

หมายถึงน. หนังสือหรือจดหมายถึงคู่รัก แต่งเป็นกลอนแสดงข้อความรักหรือตัดพ้อเป็นต้น. (ตัดมาจาก กลอนเพลงยาว).

กากะเยีย

หมายถึงน. เครื่องสำหรับวางหนังสือใบลาน ทำด้วยไม้ ๘ อันร้อยเชือกไขว้กัน.

อัตราส่วน

หมายถึงน. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดบางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วนไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).

บทบรรณาธิการ

หมายถึงน. ข้อเขียนที่บรรณาธิการหรือนักเขียนชั้นนำเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นแนวของหนังสือนั้น ๆ, บทนำ ก็ว่า.

คู่ฉบับ

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือหรือเอกสารที่ทำขึ้นเป็นต้นฉบับตั้งแต่ ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยฉบับหนึ่งเป็นคู่ฉบับของอีกฉบับหนึ่ง.

ไทยนับสาม,ไทยนับห้า

หมายถึงน. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับอย่างโบราณ เมื่อจะอ่านต้องนับอ่านตัวที่ ๓ หรือที่ ๕ ฯลฯ ตามชื่อ.

เพลา

หมายถึง[เพฺลา] น. แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยายหมายถึงแกนสำหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สำหรับขึงใบเรือ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ