ค้นเจอ 202 รายการ

อันว่า

หมายถึงว. ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).

ขัณฑสกร

หมายถึง[ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).

อัน

หมายถึงน. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คำบอกลักษณะสิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากำหนดสำหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).

ธาตุมมิสสา

หมายถึง[ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสำแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตำรากลอน).

เหล่า

หมายถึง[เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กำลังพลของทหารซึ่งประกอบกับคำอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหารปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.

รัตนโกสินทร์

หมายถึงน. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึงกรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

จตุรงคประดับ

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).

สุพรรณบัฏ

หมายถึง[สุพันนะบัด] (ราชา) น. แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า พระสุพรรณบัฏ; แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะ ขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา และขุนนางชั้นเจ้าพระยาบางคน ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ; (โบ) แผ่นทองคำที่จารึกพระราชสาส์น.

พ่อ

หมายถึงน. ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก; คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คำใช้นำหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทำกิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทำครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.

ที่

หมายถึงน. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทำมาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตำแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คำใช้แทนคำนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คำนำหน้าสังขยาบอกลำดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.

พล,พล-

หมายถึง[พน, พนละ-, พะละ-] น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตำรวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ