ค้นเจอ 197 รายการ

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

เสากระโดง

หมายถึงน. เสาสำหรับกางใบเรือ, เสาในเรือเดินทะเลใหญ่ ๆ ที่ไม่ใช้ใบเช่นเรือรบ สำหรับติดไฟ ธงเครื่องหมาย ธงสัญญาณ และธงรหัสต่าง ๆ ติดเรดาร์ ติดเสาอากาศสำหรับรับส่งคลื่นวิทยุ บนยอดเสามีรังกาเป็นที่สำหรับยามยืนเฝ้าตรวจสิ่งต่าง ๆ มีข้าศึก หินโสโครก เรืออื่น ๆ เป็นต้น.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

การกลั่นทำลาย

หมายถึงน. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดนํ้าส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทำลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นํ้ามันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).

เรือพิฆาต

หมายถึงน. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓,๘๐๐-๕,๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำ มีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ.

บรรยากาศ

หมายถึงน. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กำหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่าเท่ากับความดันของลำปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐ °ซ. ณ ระดับทะเลที่ละติจูด ๔๕ ° หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.

สัมผัส

หมายถึงก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายามให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คำในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไปข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคำ เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).

โขมด

หมายถึง[ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).

พอง

หมายถึงก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่าปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้น เช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.

ฤดู

หมายถึง[รึ-] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กำหนดสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดูถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์; คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก. (ส. ฤตุ; ป. อุตุ).

หมวด

หมายถึง[หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือ วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็นจุกเดียวกัน.

กอง

หมายถึงก. ทำให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคำ เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ