ค้นเจอ 201 รายการ

ขมิ้น

หมายถึง[ขะมิ่น] น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Oriolidae ตัวเท่านกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ฟ้า ขาว กินผลไม้และแมลง ทำรังเป็นรูปถ้วยอยู่ตรงง่ามไม้สูง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำ หรือที่มักเรียกกันว่า ขมิ้นเหลืองอ่อน (Oriolus chinensis) ขมิ้นแดง (O. traillii) ขมิ้นขาว (O. mellianus).

ลั่น

หมายถึงก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.

โศกนาฏกรรม

หมายถึง[โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.

ศุกร,ศุกร-,ศุกร์

หมายถึง[สุกกฺระ-, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของกรดกำมะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก. ว. สว่าง. (ส.).

ตะโกก

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae หัวเสี้ยม ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้าแข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลำตัวด้านหลังและครีบสีเทาอมฟ้า ส่วนอื่นสีเงิน ที่สำคัญได้แก่ชนิดในสกุล Cyclocheilichthys เช่น ชนิด C. enoplos, C. dumerilii สกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด Cosmochilus harmandi, Albulichthys alburoides.

แต้วแร้ว

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Pittidae ตัวอ้วนสั้น มีสีฉูดฉาดสะดุดตาหลายสี เช่น นํ้าเงิน เขียว แดง นํ้าตาล เหลือง รวมอยู่ในตัวเดียวกัน คอและหางสั้น ขายาว มักกระโดดหรือวิ่งบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แต้วแร้วปีกสีฟ้า หรือ แต้วแร้วธรรมดา (Pitta moluccensis) แต้วแร้วสีนํ้าเงิน (P. cyanea) แต้วแร้วหูยาว (P. phayrei), เขียนเป็น แต้วแล้ว ก็มี.

พระองค์

หมายถึง(ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนามใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.

คู่

หมายถึงน. จำนวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สำหรับกันหรือใช้กำกับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะเป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยายหมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.

ดาว

หมายถึงน. สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืด นอกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์, แต่ในตำราโหราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นดาวในพวกดาวนพเคราะห์; เรียกกลุ่มดาว เช่น ดาวลูกไก่ ดาวจระเข้ ดาวไถ; เรียกบุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง; เรียกสิ่งที่มีรูปเป็นแฉกคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ดาวเครื่องหมายยศทหารตำรวจ; ชื่อลายประดับเพดานเป็นดวง ๆ มีหลายชนิด เช่น ดาวจงกล ดาวรังแตน ดาวกระจาย.

พะยูน

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon ในวงศ์ Dugongidae ลำตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่มีหางแผ่เป็นแฉกกว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดำแกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หรือ หมูนํ้า ก็เรียก.

ตะขาบ

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน อยู่ตามลำพัง ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาล หัวและปีกสีฟ้า ปากสีดำ และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้มหรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.

ลัคน,ลัคน-,ลัคน์,ลัคนา

หมายถึง[ลักคะนะ-, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสำหรับลงมือทำการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคำนวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสำหรับทำพิธีรดนํ้าแต่งงาน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ