ค้นเจอ 195 รายการ

ซิว

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต เกล็ดโต อาศัยใกล้ผิวนํ้า ที่รู้จักกันทั่วไปและพบทั่วประเทศ ได้แก่ ซิวหนวดยาว (Esomus metallicus) ซิวอ้าว อ้ายอ้าว อ้าว หรือ ซิวควาย ในสกุล Luciosoma, ซิวใบไผ่ ในสกุล Danio, ซิวหัวตะกั่ว ในสกุล Chela และ ซิว ในสกุล Rasbora; เรียกหางปลาที่มีลักษณะตีบเหมือนปลาซิวว่า หางปลาซิว; เรียกคนที่ใจเสาะ ไม่สู้หรือไม่อดทนว่า ใจปลาซิว.

กระทู้

หมายถึงน. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสำหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนำหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.

ท่าน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.

ดุษฎีมาลา

หมายถึงน. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษประจำเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกำหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็มศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.

ราชธรรม

หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

หลับหูหลับตา

หมายถึงก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจพิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตาทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้องแข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหู หลับตากลืนเข้าไป.

ธรรม,ธรรม,ธรรม-,ธรรมะ

หมายถึง[ทำ, ทำมะ-] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

พระเดชพระคุณ

หมายถึงน. คำใช้นำหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นำหน้าสมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คำเรียกผู้มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

ค่า

หมายถึงน. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการเป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.

อำนาจ

หมายถึงน. สิทธิ เช่น มอบอำนาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อำนาจบังคับของกฎหมาย อำนาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถทำหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กำลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อำนาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อำนาจ; การบังคับ เช่น ขออำนาจศาล.

ค่าน้ำนม

หมายถึงน. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอเพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มันแลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง. (สามดวง); ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม.

วงเล็บเหลี่ยม

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กันคำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะหนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอกคำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 - 3{x + 5 - 4(x + 1)}] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F-2] = 1.05.10-6, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]·2H2O.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ