ค้นเจอ 677 รายการ

ความถ่วงจำเพาะ

หมายถึงน. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนักของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔ °ซ. เป็นสารมาตรฐาน. (อ. specific gravity).

ปากจิ้งจก

หมายถึงน. ชื่องูชนิด Ahaetulla prasina ในวงศ์ Colubridae หัวและตัวเรียวยาว ส่วนมากตัวสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน มีพิษอ่อนมาก.

กวี

หมายถึง[กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จำแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).

ประจำฉัตร

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวนกยูง ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก.

คาถา

หมายถึงน. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

ศอกกำ,ศอกกำมา,ศอกตูม

หมายถึงน. ระยะตั้งแต่ข้อศอกจนสุดกำมือ โบราณใช้เป็นหน่วยวัดระยะ เช่น ๔ ศอกกับศอกกำมาหนึ่ง.

จตุกาลธาตุ

หมายถึง[-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.

จตุรถ-

หมายถึง[จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).

ไซ

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวเศรษฐี ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก.

ธรรมปฏิสัมภิทา

หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).

นกเขา

หมายถึงน. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ อยู่ตามลำพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (Accipiter trivirgatus) เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis).

วิ่งผลัด

หมายถึงน. การแข่งขันชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นชุด ๆ ชุดละ ๔ คน แต่ละชุดจัดคนยืนอยู่ในลู่ของตนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด คนแรกจะเริ่มวิ่งจากต้นทาง แล้วส่งไม้ให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๓ และคนที่ ๓ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๔ ตามลำดับ คนที่ ๔ ของชุดใดวิ่งถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ