ค้นเจอ 267 รายการ

ปรบ

หมายถึง[ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.

หมั่นไส้

หมายถึงก. ชังนํ้าหน้า, รู้สึกขวางหูขวางตา; (ปาก) ชวนให้รู้สึกเอ็นดู, (มักใช้แก่เด็ก), เช่น เด็กคนนี้อ้วนแก้มยุ้ย น่าหมั่นไส้, มันไส้ ก็ว่า.

สาคร

หมายถึง[-คอน] น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร.

ผัสส,ผัสส-,ผัสสะ

หมายถึงน. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).

อ้าซ่า

หมายถึงว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขาอ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า.

เพียง

หมายถึงว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคำโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.

อินทรียสังวร

หมายถึงน. ความสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).

ฉับฉ่ำ

หมายถึง(กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).

จีโบ

หมายถึงน. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทำด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกันความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่องถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง.

รก

หมายถึงว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้งกระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารำคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตา รกหู รกสมอง.

หมวกหูกระต่าย

หมายถึงน. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสำหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง.

ระคาย

หมายถึงน. ละอองที่ทำให้คายคัน. ก. ทำให้คายคันเหมือนถูกละออง เช่น ระคายตัว, กระทบกระเทือนกายใจให้เกิดรำคาญไม่สุขใจ เช่น ระคายหู, (กลอน) ใช้เป็น กระคาย ก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ