ค้นเจอ 282 รายการ

แล

หมายถึงก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา, ทอดตาดูเพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.

พฤนท์

หมายถึง[พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จำนวนมาก. (ส. วฺฤนฺท); สังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิยกกำลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).

อักษรสาส์น

หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.

กำลอง

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).

โซงโขดง

หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).

พัดดึงส์

หมายถึงน. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท. ว. สามสิบสอง. (ป. พตฺตึส).

จันทร,จันทร-,จันทร์

หมายถึง[จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).

สมรัก

หมายถึงก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่านก็ดี... สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ. (สามดวง).

เทศกาล

หมายถึงน. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทำนาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).

กำลัง

หมายถึงน. (คณิต) เลขชี้กำลังที่เขียนลงบนจำนวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกำลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกำลัง ; (ฟิสิกส์) จำนวนงานที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทำได้โดยสมํ่าเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กำลังเท่ากับ , อัตราของการทำงาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกำลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกำลัง (วัดรอบลำต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.

รา

หมายถึง(กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคำว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้างขุนแผน).

กรุก

หมายถึง[กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ