ค้นเจอ 252 รายการ

เกลือก

หมายถึง[เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่าเหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ประชุม

หมายถึงก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยายใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุมพงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.

เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ

หมายถึง(สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.

หกคะเมน

หมายถึงก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.

ปศุ

หมายถึง[ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสำหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคำ สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).

ปี่พาทย์เครื่องใหญ่

หมายถึงน. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้องโหม่งผสมด้วย, พิณพาทย์เครื่องใหญ่ ก็เรียก.

จาตุกรณีย์

หมายถึงน. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).

อนาคามี

หมายถึงน. “ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๓ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า พระอนาคา. (ป.; ส. อนาคามินฺ).

ไว้

หมายถึงก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้นแหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคำเพื่อให้ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดำรงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.

รักร้อย

หมายถึงน. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ผูกเป็นลายกระจังตาอ้อยเรียงซ้อนเนื่องกันไปเป็นแถวยาว, เรียกสร้อยอ่อนประดับข้อมือ ทำด้วยทองลงยา มักผูกเป็นลายกระจังตาอ้อย บางทีก็ประดับพลอยด้วย ว่า สร้อยรักร้อย.

ตาด

หมายถึงน. ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ บางทีก็เรียกว่า ตาดมองโกล, ชื่อภาษาของพวกตาด ใช้พูดกันในดินแดนตั้งแต่ทิวเขาอูราลทางตะวันตกไปจนถึงทิวเขาอัลไตทางตะวันออก.

ศรัทธา

หมายถึง[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ