ค้นเจอ 399 รายการ

สดูป

หมายถึง[สะดูบ] (แบบ) น. สถูป, สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น, สตูป ก็ว่า. (ส. สฺตูป; ป. ถูป).

อาวาห,อาวาห-,อาวาหะ

หมายถึง[อาวาหะ-] น. “การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนำหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).

วิวาห,วิวาห-,วิวาห์,วิวาหะ

หมายถึง[วิวาหะ-] น. “การพาออกไป” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะต้องถูกนำไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลำพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).

วิเศษณการก

หมายถึง[วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.

อยู่อาสา

หมายถึง(โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็งและประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).

สิง

หมายถึงก. อยู่, เข้าแทรกอยู่ เช่น ผีสิง, สึง ก็ว่า, (ปาก) อยู่, มาอาศัยอยู่, เช่น เพื่อน ๆ ของลูกมาสิงอยู่ที่บ้านหลายคน, สิงสู่ ก็ว่า. (ข.).

หดหัว

หมายถึงก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอมโผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.

เสาค่าย

หมายถึงน. ไม้หรือไม้ไผ่ปักรายล้อมหมู่บ้าน เมือง หรือที่ตั้งค่ายทหารในสมัยโบราณ, เสาระเนียด ก็ว่า.

รอมร่อ

หมายถึง[รอมมะร่อ] ว. ในระยะทางหรือเวลาอันใกล้จวนเจียน เช่น จะสำเร็จการศึกษาอยู่รอมร่อ จะถึงบ้านอยู่รอมร่อ, รำมะร่อ ก็ว่า.

เลขลำดับ

หมายถึงน. จำนวนนับที่บอกรหัสหรือตำแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียงกันอย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจำทางสาย ๖๒.

กะส้าหอย

หมายถึงน. เปลือกซากหอยต่าง ๆ ที่ทับถมกันอยู่ ใช้ทำปูนขาวที่เรียกว่า ปูนหอย. (ไกลบ้าน), กะซ้าหอย ก็ว่า.

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ