ตัวกรองผลการค้นหา
ขังปล้อง
หมายถึงว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝานข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่ง เพื่อทำเป็นตะขาบเป็นต้น.
จะเข้
หมายถึงน. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาวไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีดทำให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
สืบเท้า
หมายถึงก. เหยียดขาเลื่อนเท้าไปข้างหน้าโดยไม่งอเข่า เช่น สืบเท้าก้าวเดินไป ตำรวจสืบเท้าเข้าไปประชิดตัวผู้ร้าย.
เขยก
หมายถึง[ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
ตะโพน
หมายถึงน. กลองสองหน้า รูปหัวสอบท้ายสอบกลางป่อง ขึงด้วยหนังทั้ง ๒ หน้า มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ.
จิงโจ้
หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลำตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาวหรือไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่าลำตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวกที่อยู่ในสกุล Limnogonus, จิงโจ้นํ้า ก็เรียก.
คร่อม
หมายถึง[คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
ตะเข็บ
หมายถึงน. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับตะขาบ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวตํ่ากว่า ๕-๖ เซนติเมตรลงไป ลำตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ และขายาวกว่าปล้องลำตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Geophilus ในวงศ์ Geophilidae, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก.
ขาทนียะ
หมายถึง[ขาทะ-] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควรบริโภค. (ป.).
กระบี่
หมายถึง(กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).
โจงกระเบน
หมายถึงก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้นว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน.
นั่งขัดสมาธิ
หมายถึง[-สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.