ค้นเจอ 359 รายการ

เหมันต,เหมันต-,เหมันต์

หมายถึง[เหมันตะ-] น. ฤดูหนาว ในคำว่า ฤดูเหมันต์, เหมันตฤดู ก็ว่า. (ป., ส.).

จู๋

หมายถึงว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคำว่า สั้นจู๋, จุนจู๋ ก็ว่า; อาการที่ห่อปากเข้ามา เช่น ทำปากจู๋.

ดึก

หมายถึงน. เวลามืดนานแล้ว, เวลาคํ่ามากแล้ว, (ใช้แทนคำว่า สาย ในเวลากลางคืน). ว. ลึก เช่น ดงดึก.

ละห้อย

หมายถึงว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสารเห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือคิดถึง เช่น หน้าละห้อย.

เหน็บ

หมายถึงก. พูดเสียดสีแคะไค้ เช่น เขาชอบมาเหน็บให้เจ็บใจ. ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้ ในคำว่า พูดเหน็บ.

ไสว

หมายถึง[สะไหฺว] ว. อาการที่ชูสะพรั่งอยู่ไหว ๆ เช่น ธงโบกสะบัดอยู่ไสว; ทั่วไป ในคำว่า สว่างไสว.

หน้าบูด

หมายถึงว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูดเพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.

ขอม

หมายถึงก. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อต้นด้วยคำว่า ขอม เช่น ขอมใหญ่ ขอมเงิน ขอมทรงเครื่อง.

งำ

หมายถึงก. ปิด เช่น งำความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ครอบ เป็น ครอบงำ.

แซ่ว

หมายถึงว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคำว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า.

เสเพล

หมายถึง[-เพฺล] ว. ชอบประพฤติเหลวไหล, ไม่เอางานเอาการ, เช่น คนเสเพล, มีความประพฤติเหลวแหลก ในคำว่า หญิงเสเพล.

แหง

หมายถึง[แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ