ค้นเจอ 224 รายการ

กระทำโดยประมาท

หมายถึง(กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.

อน,อน-

หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).

ธุรกิจ

หมายถึงน. การงานประจำเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย หรือกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการ; (กฎ) การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอย่างอื่น เป็นการค้า.

กักขัง

หมายถึงก. บังคับให้อยู่ในสถานที่อันจำกัด, เก็บตัวไว้ในสถานที่อันจำกัด. (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษไว้ในสถานที่ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ.

นักท่องเที่ยว

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดยปรกติของตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้.

ประตูระบาย

หมายถึงน. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลองให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.

นาม,นาม-

หมายถึง[นามมะ-] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สำหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).

คาราคาซัง

หมายถึงค้างคา ไม่จบไม่สิ้น

สาธารณ,สาธารณ-,สาธารณะ

หมายถึง[สาทาระนะ] ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).

แก้

หมายถึงก. ทำให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทำให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทำให้ดีขึ้น, ทำให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทำให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.

ธุร,ธุร-,ธุระ

หมายถึง[ทุระ-] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).

วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์

หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ