ค้นเจอ 236 รายการ

สำหรับ

หมายถึงว. คู่กับ, ควรกับ, เช่น ช้อนกับส้อมเป็นของสำหรับกัน หมากพลูกับเชี่ยนเป็นของสำหรับกัน. บ. เพื่อ เช่น ของสำหรับถวายพระ วันนี้ฉันทำกับข้าวเป็นพิเศษสำหรับเธอ.

สะกิดใจ

หมายถึงก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็รู้สึกสะกิดใจว่าเขาจะมาทวงหนี้.

ฉิน

หมายถึง(กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัดอรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).

เล่า

หมายถึงก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.

แถ

หมายถึงก. อาการที่นกเป็นต้นเอียงปีกร่อนลง, อาการที่ของแบน ๆ เช่นกระเบื้องหรือรูป แฉลบหรือร่อนไปเฉียง ๆ, โดยปริยายเรียกอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วัน ๆ ไม่เห็นทำการทำงาน ได้แต่แถไปโน่นไปนี่.

บุพบท

หมายถึงน. คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

สมสู่

หมายถึงก. ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง สมสู่อยู่กินกันฉันผัวเมีย, บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น เดือน ๑๒ เป็นฤดูที่สุนัขสมสู่กัน.

กะเตง ๆ

หมายถึงว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่ไปอย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่.

เมื่อ

หมายถึงน. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.

ยาวชีวิก

หมายถึง[ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).

อยู่ ๆ,อยู่ดี ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.

เจ้าภาพ

หมายถึงน. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงานแต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็นเจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ