ค้นเจอ 208 รายการ

กิรินท

หมายถึง[-ริน] (แบบ) น. ช้างสำคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).

ธนิต

หมายถึงว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).

ศิลป์

หมายถึง[สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

สนมเอก

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).

เรือพระที่นั่ง

หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ควิวควัง,ควิวควั่ง,ควิวคว่าง,ควิวคว้าง

หมายถึง[-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจรู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

เอกังสพยากรณ์

หมายถึง[-สะพะยากอน] น. “การพยากรณ์โดยส่วนเดียว” หมายถึง การพยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจน สามารถตอบได้อย่างแจ่มแจ้งทันที.

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

มนิลา

หมายถึงน. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา, มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่ว เหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือนทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ