ค้นเจอ 267 รายการ

วิภัตติ

หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).

บรรยเวกษก์

หมายถึง[บันยะเวก] น. ผู้ดูแลทั่วไป เป็นตำแหน่งในวิทยาลัย. (ส. ปริ + อว + อีกฺษก).

ปริภูมิ

หมายถึง[ปะริพูม] (คณิต) น. เซตที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจเป็นโครงสร้างแบบเรขาคณิตหรือโครงสร้างแบบอื่นก็ได้. (อ. space).

หริตกี,หรีตกี

หมายถึง[หะริตะกี, หะรีตะกี] น. ต้นสมอไทย. (ป., ส.).

อิสริย,อิสริย-,อิสริยะ

หมายถึง[อิดสะริยะ-] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).

นิปริยาย

หมายถึง[นิปะริยาย] (แบบ) น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง. (ตรงกันข้ามกับ ปริยาย = อย่างอ้อม). ว. สิ้นเชิง. (ป. นิปฺปริยาย).

อุทริยะ

หมายถึง[อุทะริยะ] น. อาหารที่กินเข้าไปใหม่ ๆ. (ป. อุทริย; ส. อุทรฺย).

หมายถึง[รึ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น ริ รึ หรือ เรอ เช่น ฤทธิ์ ฤดู ฤกษ์.

อกรรมกริยา

หมายถึง[อะกำกฺริยา, อะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).

ปริวาส

หมายถึง[ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).

ราหุ,ร่าหุ์,ราหู,ราหู

หมายถึงน. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตำราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์ มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตำแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ. (ป., ส. ราหุ).

พักตรากฤติ

หมายถึง[-กฺริด] น. โฉมหน้า เช่น พักตรา-กฤติอันบริสุท- ธิพบูและโสภา. (สมุทรโฆษ). (ส. พกฺตฺร + อากฺฤติ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ