ค้นเจอ 186 รายการ

จำปาดะ

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้; เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม ว่า ขนุนจำปาดะ. (ดู ขนุน ๑).

มะตูม

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Aegle marmelos (L.) Corrêa ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการมงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทำยาได้. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L..

ทึดทือ

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).

ปลาเงินปลาทอง

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus ในวงศ์ Cyprinidae ซึ่งมีประวัติการคัดเลือกพันธุ์ในต่างประเทศกันมานานนับพันปีจนมีลักษณะรูปร่างแปลกเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงามหรือปลาปล่อย เกล็ดทั่วลำตัวมักมีสีเงินหรือทอง แต่ก็อาจเป็นสีดำหรือด่าง ตัวที่มีสีเหลืองหรือแดงส้ม เรียก ปลาทอง.

หนู

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะนำโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของบางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.

ตูหนา

หมายถึงน. ชื่อปลาไหลนํ้าจืดชนิด Anguilla bicolor ในวงศ์ Anguillidae ที่ว่ายลงทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ลำตัวกลมยาว แบนข้างทางท่อนหาง มีครีบอก เกล็ดเล็กฝังแน่นอยู่ในหนัง ลำตัวและครีบสีนํ้าตาลหรือเกือบดำเสมอกัน พบทางเขตภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร.

เก๊กฮวย

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Chrysanthemum วงศ์ Compositae ชนิด C. indicum L. ดอกเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม, เบญจมาศสวน ก็เรียก, และชนิด C. morifolium Ramat. พันธุ์ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, เบญจมาศหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ดอกตากแห้งชงกับใบชา หรือต้มกับนํ้าตาลใช้ดื่มแก้กระหาย.

มะเขือ

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่ผลกินได้ คือ ชนิด S. melongena L. ผลกลม ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะเขือไข่เต่า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือละโว้, มะเขือยาว [S. melongena L. var. serpentinum (Desf.) Bailey] ผลยาว มีหลายสี, ชนิดที่ผลกินไม่ได้ คือ มะเขือขื่น (S. aculeatissimum Jacq.) รากใช้ทำยาได้.

กะหล่ำ

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Brassica oleracea L. ในวงศ์ Cruciferae มีหลายพันธุ์ เช่น กะหลํ่าปลี หรือ กะหลํ่าใบ (B. oleracea L. var. capitata L.) กะหลํ่าดอก หรือ กะหลํ่าต้น (B. oleracea L. var. botrytis L.) กะหลํ่าดาว หรือ กะหลํ่าหัวลำต้น [B. oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell.] และ กะหลํ่าปม (B. oleracea L. var. gongylodes L.).

ลำไย

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Dimocarpus longan Lour. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม รสหวาน, พันธุ์ที่เป็นไม้เถาเรียก ลำไยเครือ (D. longan Lour. var. obtusus Leenh.). (๒) (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mangifera caesia Jack ในวงศ์ Anacardiaceae ดอกสีม่วงอ่อน, บินยา หรือ ลำยา ก็เรียก.

หอม

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียกผิดเป็น หอมแดง. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลยาว กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด.

สวนป่า

หมายถึงน. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ