ค้นเจอ 218 รายการ

ลำไส้ใหญ่

หมายถึงน. ลำไส้ส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็กและไปสุดสิ้นที่ทวารหนัก มีหน้าที่ดูดซึมน้ำจากกากอาหารที่ย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กแล้ว ซึ่งทำให้กากอาหารงวดเป็นอุจจาระ.

ภูมิศาสตร์ประชากร

หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.

ครุกาบัติ

หมายถึง[คะรุกาบัด] น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.

ทวาร,ทวาร-

หมายถึง[ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคำ เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคำสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).

หัว

หมายถึงน. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทางดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.

ลำไส้

หมายถึงน. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึมอาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.

ครุกรรม

หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.

แปล้

หมายถึงเต็มที่

กระโชก

หมายถึงว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทำให้กลัว, ทำให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชกวิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).

แปล้

หมายถึงเตี้ยลง

เครื่องห้า

หมายถึงน. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สำหรับการแสดงละครและหนังในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สำหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบด้วย เครื่องทำลำนำ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.

ปึ่งชา

หมายถึงว. ทำทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ, ปึ่ง ก็ว่า; วางท่าเฉยเมยอย่างไว้ยศ เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาหาน้อยไม่. (สังข์ทอง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ