ค้นเจอ 564 รายการ

ฉันทศาสตร์

หมายถึง[ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติและวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).

ขนาด

หมายถึง[ขะหฺนาด] น. เครื่องสาดนํ้ารดต้นไม้ โดยมากสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบน ๆ มีด้ามสำหรับถือ.

ลงอ่าง

หมายถึงเที่ยวสถานบริการอาบ อบ นวด ซึ่งจะประกอบด้วยการ นวดคลายเส้น อาบน้ำ แช่น้ำอุ่นในอ่าง

พลั่ง,พลั่ง ๆ

หมายถึง[พฺลั่ง] ว. อาการที่หลั่งไหลออกมาไม่ขาดสายด้วยกำลังดัน เช่น น้ำเดือดพลั่ง ๆ น้ำไหลพลั่ง ๆ.

ศราทธพรต

หมายถึง[สาดทะพฺรด] น. พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว. (ส. ศฺราทฺธ + วฺรต).

กระยาสารท

หมายถึง[-สาด] น. ขนมทำด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับนํ้าตาล แต่เดิมนิยมทำเฉพาะในเทศกาลสารท.

ลำห้วย

หมายถึงน. ทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ในแอ่งที่เรียกว่า ห้วย.

ศารท

หมายถึง[สาด] ว. เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง; เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐. (ส.; ป. สารท).

หว่าน

หมายถึงก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดยปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.

ปราย

หมายถึง[ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.

อำมฤต

หมายถึง[-มะริด, -มะรึด] น. น้ำทิพย์ เรียกว่า น้ำอำมฤต; เครื่องทิพย์; แผลงมาจาก อมฤต. (ส. อมฺฤต; ป. อมต).

ฝักบัว

หมายถึงน. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง ขึ้นตามหลังและต้นคอ มีลักษณะเหมือนฝักบัว มีหัวหลายหัว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งผสมเชื้อ มีลักษณะเหมือนฝักบัว; ที่สำหรับโปรยนํ้าให้เป็นฝอย มีลักษณะเหมือนฝักบัว ติดอยู่ที่ท่อประปาสำหรับอาบน้ำหรือติดที่กระป๋องรดน้ำต้นไม้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ