ค้นเจอ 249 รายการ

กิริยาสะท้อน

หมายถึงน. การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ในอำนาจสั่งงานของสมอง เพื่อตอบสนองสิ่งกระตุ้น เป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายหรือสิ่งรบกวน เช่นหดมือเมื่อถูกของร้อน.

หมดพุง,หมดไส้หมดพุง

หมายถึงว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

อุปนิษัท

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).

ตะโกรง

หมายถึง[-โกฺรง] ก. ทะเยอทะยาน, อยากได้. ว. อาการวิ่งโทง ๆ; เต็มไปด้วยความอยาก, ตะกลาม, เช่น ลูกเมียแปรไปเป็นอื่นตื่นตะโกรง. (สุ. สอนเด็ก).

หมดไส้หมดพุง

หมายถึงว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

ชินโต

หมายถึงน. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคำสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า.

ตอแหล

หมายถึง[-แหฺล] เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).

ยอม

หมายถึงก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอมตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทำได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.

ยังอีก

หมายถึงใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก.

ปากเบา

หมายถึงก. พูดได้เร็ว (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด); พูดโดยไม่ยั้งคิด. น. เรียกยุงที่กัดไม่ค่อยจะรู้สึกเจ็บว่า ยุงปากเบา.

ให้ออก

หมายถึง(กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ ให้ออกเมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.

ชิงสุกก่อนห่าม

หมายถึง(สำ) ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ