ค้นเจอ 177 รายการ

เกลือแกง

หมายถึงน. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายนํ้าได้ มีมากในนํ้าทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทำเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในนํ้ากลั่น เรียกว่า นํ้าเกลือ สำหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทำสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).

ไม้จำปา

หมายถึงน. ลำไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วใส่กะลาลงไปเพื่อให้ปลายบาน, ใช้สอยผลไม้, ถ้าเอามะพร้าวลูกเล็ก ๆ ใส่ลงไปแล้วมีชิ้นไม้ขัดทแยงสกัดลูกมะพร้าวไว้ใช้สำหรับขุดดินจากหลุมที่ขุดไว้ลึกประมาณ ๑ แขน.

มนิลา

หมายถึงน. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา, มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่ว เหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือนทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก.

ค่าจ้าง

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.

ผู้อุปการะ

หมายถึง(กฎ) น. ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายความถึง (๑) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ฉันบิดามารดากับบุตร หรือ (๒) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำหรือข้าราชการบำนาญผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพหรือวิกลจริตไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำเป็นส่วนใหญ่.

กระทั่ง

หมายถึงก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทำให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น.

สุขนาฏกรรม

หมายถึง[สุกขะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.

อู้

หมายถึงว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรืองา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.

เสร็จ

หมายถึง[เส็ด] ก. จบ, สิ้น, เช่น พอเสร็จงานเขาก็กลับบ้าน; (ปาก) สมใจหมาย เช่น ถ้าเขาเชื่อเรา เขาก็เสร็จเราแน่; เสียที, เสียรู้, เช่น ถ้าเราไว้ใจคนขี้โกง เราก็เสร็จเขาแน่; เสียหาย, พัง, เช่น เกิดพายุใหญ่ นาเสร็จไปหลายร้อยไร่; ตาย เช่น ใครที่ป่วยเป็นมะเร็งถึงขั้นนี้แล้ว อีกไม่นานก็เสร็จแน่; เกิดผลร้าย เช่น ขืนเสนอเรื่องนี้ขึ้นไป มีหวังเสร็จแน่. ว. แล้ว เช่น พอพูดเสร็จก็เดินออกไป.

เลือด

หมายถึงน. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคนและสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดงเกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการป่วยในระหว่างที่มีระดู; โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์; ผู้ที่เคยศึกษาจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.

ครอบ

หมายถึง[คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงำไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสำหรับครอบพระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ดทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ