ค้นเจอ 172 รายการ

ยางมะตอย

หมายถึงน. สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดำ หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดำ เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทำผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทำพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก.

ดก

หมายถึงว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่าปรกติ เรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คนที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยายใช้เป็นคำพูดประชด เช่น พูดว่า ได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.

เรือพิฆาต

หมายถึงน. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓,๘๐๐-๕,๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำ มีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ.

เหนี่ยง

หมายถึง[เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลำตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดำตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่างของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.

กษัตริย์

หมายถึง[กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทำด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทำด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.

เจตภูต

หมายถึง[เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.

พระราชกำหนด

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.

มงคล,มงคล-

หมายถึง[มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).

แซง

หมายถึงน. เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือกองทัพว่า ม้าแซง, ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแทรก ก็เรียก, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน ว่า เรือแซง. ก. เบียดหรือเฉียดเพื่อจะขึ้นหน้า เช่น เดินแซง ขับรถแซง แซงคิว; สอดแทรกเข้ามาในระหว่าง เช่น พูดแซง.

ป่า

หมายถึงน. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็นต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตำบลที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มาจากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกลความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคำว่า ตีป่า.

บ้า

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาวแต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้าลำคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ในธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นำไปบริโภค ทำให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ