ค้นเจอ 181 รายการ

ทัณฑกรรม

หมายถึง[ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ คือ ให้ทำงานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ. (ส.).

ด้วย

หมายถึงว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่น ทำด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.

กระแอม

หมายถึงน. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สำหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่าได้ทำอะไรแปลกไปจากการประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น เรียกว่า ตัวกระแอม.

ลักไก่

หมายถึง(ปาก) ก. หลอกล่อให้หลงเข้าใจผิด, ใช้อุบายลวงให้หลง, (มักใช้แก่การกีฬา) เช่น ยิงลูกลักไก่, ถือไพ่แต้มต่ำ แต่เพิ่มเค้าเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดว่าตนถือไพ่แต้มสูง (ใช้แก่การเล่นโป๊กเกอร์หรือเผ).

สัมผัสใน

หมายถึงน. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มิได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เช่น เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา. (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวมถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).

เบี้ยปรับ

หมายถึง(กฎ) น. จำนวนเงินหรือการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นจำนวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้.

ประกาศ

หมายถึงก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของบริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).

ราศี

หมายถึงน. กอง, หมู่, เช่น บุญราศี ว่า กองบุญ; ชื่อมาตราวัดจักรราศี คือ ๓๐ องศา เป็น ๑ ราศี, ถ้ากลุ่มดาวใดอยู่ในช่วงจักรราศีนั้น ก็เรียกชื่อราศีตามกลุ่มดาวนั้น เช่น ราศีเมษ ราศีกรกฎ, อาทิตย์โคจรรอบจักรวาลผ่านหมู่ดาว ๑๒ หมู่ และดาวหมู่หนึ่ง ๆ เรียกว่า ราศี ๑. (ส. ราศิ; ป. ราสิ).

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายถึง(กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).

ศาสน,ศาสน-,ศาสนา

หมายถึง[สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คำสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).

ยิ่ง

หมายถึงว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.

มาร,มาร-

หมายถึง[มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ