ค้นเจอ 357 รายการ

ฟองมัน

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปอย่างนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สำหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ตาไก่ ก็เรียก.

โย้เย้

หมายถึงว. รวนหรือซวนเซมีอาการจะหลุดหรือทลายลง เช่น ฟันโย้เย้ เรือนโย้เย้, ไม่ตรงรูป เช่น เขียนหนังสือโย้เย้.

บรรณานุกรม

หมายถึง[บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.

เล่ม

หมายถึงลักษณนามสำหรับเรียกสิ่งของบางชนิดที่มีลักษณะยาวเรียวอย่างมีด หอก พาย เข็ม เช่น มีดเล่มหนึ่ง เข็ม ๒ เล่ม, ใช้เรียกเกวียนหรือสมุดหนังสือว่า เล่ม ด้วย เช่น เกวียน ๒ เล่ม หนังสือ ๓ เล่ม สมุด ๔ เล่ม.

นามสงเคราะห์

หมายถึง[นามมะสง-] น. หนังสือที่รวบรวมคำพูดไว้, อภิธาน; สมุดรายชื่อพร้อมทั้งที่อยู่หรือที่ทำงานของบุคคล. (ส.).

หนังสือเดินทาง

หมายถึงน. หนังสือสำคัญประจำตัวซึ่งทางราชการของประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการเดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.

นูน

หมายถึงว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.

ตั๋วเงิน

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค.

หมายเกณฑ์

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเกณฑ์.

สามานยนาม

หมายถึง[สามานยะ-] (ไว) น. คำนามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น เด็ก นก หนังสือ ลม ใจ.

มึน

หมายถึงก. เมาอ่อน ๆ, รู้สึกวิงเวียน เช่น มึนศีรษะ, รู้สึกตื้อในสมอง เช่น อ่านหนังสือมากชักมึน, มึนหัว ก็ว่า.

อักขรวิธี

หมายถึงน. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ