ค้นเจอ 211 รายการ

หมวกหูกระต่าย

หมายถึงน. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสำหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง.

ระคาย

หมายถึงน. ละอองที่ทำให้คายคัน. ก. ทำให้คายคันเหมือนถูกละออง เช่น ระคายตัว, กระทบกระเทือนกายใจให้เกิดรำคาญไม่สุขใจ เช่น ระคายหู, (กลอน) ใช้เป็น กระคาย ก็มี.

รำคาญ

หมายถึงก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกันทำให้รำคาญ.

กระถิก,กระถึก

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae รูปร่างคล้ายกระรอกซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลำตัวสีนํ้าตาล มีลายสีขาวดำพาดขนานตามยาวของลำตัวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง ชอบอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei) และกระถิกขนปลายหูสั้น (T. macclellandi), กระเล็น ก็เรียก.

สะดุดหู

หมายถึงก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.

กาง

หมายถึงก. ถ่างออก เช่น กางขา, คลี่ เช่น กางปีก, เหยียดออกไป เช่น กางแขน, ขึงออกไป เช่น กางใบ กางมุ้ง, แบะออก เช่น กางหนังสือ. ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง.

ทิพย,ทิพย-,ทิพย์

หมายถึง[ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่างเทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).

เสียง

หมายถึงน. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงเพลง เสียงพูด; ความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้างมาก.

หมูตั้ง

หมายถึงน. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่นเป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.

วิ่น

หมายถึงว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.

ไก่ป่า

หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.

กรอก

หมายถึง[กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจำนวนเลข เช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขาม ว่า หมากกรอกมะขามกรอก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ