ตัวกรองผลการค้นหา
อุปะ
หมายถึง[อุปะ, อุบปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).
ไวพจน์
หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)
บาลี
หมายถึงน. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).
คำตั้ง
หมายถึงน. คำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทำพจนานุกรม; คำที่เป็นหลักให้คำอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคำติดต่อ.
ล
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนอย่างตัว น ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.
ฉายา
หมายถึงน. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
วนัสบดี
หมายถึง[วะนัดสะบอดี] น. ไม้ใหญ่, พญาไม้, (ในภาษาสันสกฤตหมายเฉพาะต้นไทรและต้นมะเดื่อชุมพร). (ส. วนสฺปติ; ป. วนปฺปติ).
พยติเรก
หมายถึง[พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).
โว้ย
หมายถึงว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
ดอกไม้จีบ
หมายถึงน. เรียกลายแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จัดเป็นดอกเล็ก ๆ สำหรับประดับที่รังดุมคอพับของเสื้อสากลเบื้องซ้ายแทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์, ภาษาปากใช้ว่า ดอกจอก.
สะดุด,สะดุด,สะดุด ๆ
หมายถึงว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
ไวยากรณ์
หมายถึงน. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตำราไวยากรณ์).