ค้นเจอ 169 รายการ

หัวตะกั่ว

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาขนาดเล็กหากินตามผิวนํ้าชนิด Aplocheilus panchax ในวงศ์ Cyprinodontidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโตและอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ ที่สำคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอน ก็เรียก. (๒) ดู ข้างเงิน.

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

มงโกรย

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลำตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.

อุโบสถ,อุโบสถ,อุโบสถหัตถี

หมายถึง[อุโบสด, อุโบสดถะ-] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง.

กาฬาวก

หมายถึง[-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีนํ้าไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

ศิลปศาสตร์

หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

นักษัตร

หมายถึง[นักสัด] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ