ค้นเจอ 224 รายการ

ข้อย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คำหลวง กุมาร).

ท้าทาย

หมายถึงก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทำอันตรายแก่ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลองความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.

ภูษาโยง

หมายถึงน. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพสำหรับคลี่ทอดไปยังพระสงฆ์เมื่อทำพิธีกรรม เช่น บังสุกุล หรือโยงจากราชรถประดิษฐานพระโกศไปยังรถนำหน้าพระศพ.

กามท,กามท-

หมายถึง[กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ไพรระเรียง. (ม. คำหลวง หิมพานต์). (ป., ส.).

สนธิ

หมายถึงน. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).

กระวี

หมายถึงน. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).

ซอ

หมายถึงน. ชื่อเครื่องดนตรีพวกหนึ่งสำหรับสี ในพวกเครื่องสายหรือมโหรี มีคันชักสีให้ดัง มีหลายชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง. (ลอ).

บริหาร

หมายถึง[บอริหาน] ก. ออกกำลัง เช่น บริหารร่างกาย; ปกครอง เช่น บริหารส่วนท้องถิ่น; ดำเนินการ, จัดการ, เช่น บริหารธุรกิจ; กล่าวแก้. น. ดำรัสสั่ง เช่น ราชบริหาร, คำแถลงไข เช่น พระพุทธบริหาร. (ป., ส. ปริหาร).

ขยด

หมายถึง[ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).

กำบน

หมายถึงก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (มาจาก ป., ส. กมฺปน).

ใต้ฝ่าละอองพระบาท

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับพระอัครมเหสีที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีลงมาจนถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

ราชวรวิหาร

หมายถึง[ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ