ค้นเจอ 174 รายการ

บ้าง

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า บางจำนวนหรือบางส่วนของสิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของจำนวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทำก็ทำบ้าง. ส. คำใช้แทนผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยกกล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

ชาปีไหน

หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Caloenas nicobarica ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็นได้ชัด ขี้อาย มักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.

จีบ

หมายถึงก. พับกลับไปกลับมาหรือทำให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียกผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือลูกชนักสำหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียกพลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.

วาง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจำที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.

กระสอบทราย

หมายถึงน. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.

ถลุง

หมายถึง[ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อโลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุงเสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.

การกลั่นทำลาย

หมายถึงน. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดนํ้าส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทำลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นํ้ามันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).

กรีส

หมายถึง[กะหฺรีด] น. อาหารเก่า, คูถ, อุจจาระ, ขี้, เช่น หนึ่งน้ำมูตรกรีส ฤๅเกียจฤๅกีด คำคนติฉิน. (สรรพสิทธิ์). (ป.; ส. กรีษ); (แบบ) มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕ ศอก, ความจุเท่ากับ ๔ อัมพณะ คือ ประมาณ ๔๔ ทะนาน. (ลิปิ). (ป. กรีส; ส. กรฺษ).

ช่วงชัย

หมายถึงน. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.

เสร็จ

หมายถึง[เส็ด] ก. จบ, สิ้น, เช่น พอเสร็จงานเขาก็กลับบ้าน; (ปาก) สมใจหมาย เช่น ถ้าเขาเชื่อเรา เขาก็เสร็จเราแน่; เสียที, เสียรู้, เช่น ถ้าเราไว้ใจคนขี้โกง เราก็เสร็จเขาแน่; เสียหาย, พัง, เช่น เกิดพายุใหญ่ นาเสร็จไปหลายร้อยไร่; ตาย เช่น ใครที่ป่วยเป็นมะเร็งถึงขั้นนี้แล้ว อีกไม่นานก็เสร็จแน่; เกิดผลร้าย เช่น ขืนเสนอเรื่องนี้ขึ้นไป มีหวังเสร็จแน่. ว. แล้ว เช่น พอพูดเสร็จก็เดินออกไป.

ไส้

หมายถึงน. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปขดมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึมอาหารและนํ้า พักและขับถ่ายกากอาหาร, ลำไส้ ก็เรียก; เรียกของที่อยู่ข้างในซึ่งมีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไส้ตะเกียง หรือที่ใส่ข้างใน เช่น ไส้ขนม ไส้ดินสอ; โดยปริยายหมายความว่า ความลับ เช่น สาวไส้ให้กากิน รู้ไส้; คนในครอบครัว, คนภายใน, คนใกล้ชิด, เช่น เห็นขี้ดีกว่าไส้ ไส้เป็นหนอน.

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ