ค้นเจอ 180 รายการ

ภัณฑูกรรม

หมายถึงน. การปลงผม. (ป. ภณฺฑุกมฺม).

ยถากรรม

หมายถึง[ยะถากำ] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม).

ยันตรกรรม

หมายถึงน. วิชาเครื่องกล.

ร่วมสังฆกรรม

หมายถึงก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงานร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.

บาปกรรม

หมายถึง[บาบกำ] น. บาป. (ส. ปาปกรฺม; ป. ปาปกมฺม).

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

อสุภกรรมฐาน

หมายถึง[-กำมะถาน] น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร. (ป. อสุภกมฺมฏฺาน).

อายุรกรรม

หมายถึงน. การรักษาโรคทางยา.

กรรม์

หมายถึง[กัน] (กลอน) น. กรรม.

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.

กรรมการ

หมายถึง[กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).

กรรมคติ

หมายถึง[กำมะคะติ] น. ทางดำเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ