ค้นเจอ 168 รายการ

อินทรียสังวร

หมายถึงน. ความสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).

เล่า

หมายถึงก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.

โสตทัศนอุปกรณ์

หมายถึง[โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน] น. อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่น วิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนูปกรณ์ ก็มี.

สะดุดหู

หมายถึงก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.

กวี

หมายถึง[กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จำแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).

ศาลากลางย่าน

หมายถึงน. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.

ความรู้

หมายถึงน. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.

เสนาะ

หมายถึง[สะเหฺนาะ] ว. น่าฟัง, เพราะ, เช่น เพลงนี้ไพเราะเสนาะหู; (กลอน) วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหยครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว. (นิ. นรินทร์). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).

สาระแน

หมายถึงว. ชอบเข้าไปยุ่งในเรื่องของคนอื่น, ชอบเข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน, เช่น เขากำลังทำงานกันอยู่ดี ๆ ก็สาระแนเข้าไปทำงานเขาเสีย; ยุแหย่ให้เขาผิดใจกัน, ยุยงให้เขาแตกกัน, เช่น พูดอะไรให้ฟัง ก็สาระแนไปบอกเขาหมด.

ลุ่น,ลุ่น ๆ

หมายถึงว. ด้วน, กุด, เช่น ไก่หางลุ่นเพราะถูกถอนขนหางหมด; ห้วน เช่น พูดลุ่น ๆ ไม่น่าฟัง; ควรมีประดับตกแต่ง แต่ไม่มี เช่น ตะพดหัวลุ่น คือ ตะพดไม่ได้เลี่ยมหัว ชกด้วยหมัดลุ่น ๆ คือ ชกด้วยหมัดล้วน ๆ ไม่ได้ใส่นวมเป็นต้น.

พอ

หมายถึงว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทำได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง; เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ