ค้นเจอ 377 รายการ

เสี้ยมสอน

หมายถึงก. สอนโดยยุยงให้ใช้เล่ห์กล เช่น เขาถูกเสี้ยมสอนให้กระด้างกระเดื่องต่อฝ่ายปกครอง เขาเสี้ยมสอนลูกให้เป็นโจร.

สนทนา

หมายถึง[สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).

ปิฎก

หมายถึงน. ตะกร้า; หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก).

ชังคา

หมายถึง(กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).

ภาคเรียน

หมายถึงน. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอนติดต่อกัน ตามปรกติปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒-๓ ภาคเรียน.

เทวนาครี

หมายถึง[เทวะนาคะรี] น. อักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษาสันสกฤต.

ร่ำ

หมายถึงก. พูดซํ้า ๆ, พรํ่า, เช่น ร่ำว่า ร่ำสั่ง ร่ำสอน; ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้.

ไมล์

หมายถึงน. ชื่อมาตราวัดของอังกฤษ มีกำหนด ๑ ไมล์ เท่ากับ ๔๐ เส้น หรือ ๑.๖๐๙ กิโลเมตร. (อ. mile).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

ตักน้ำรดหัวสาก

หมายถึง(สำ) ก. แนะนำพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็กปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า.

จาตุ,จาตุ-

หมายถึงว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ