ค้นเจอ 2,045 รายการ

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

เครื่องหมายคำถาม

หมายถึงน. ปรัศนี.

วิ

หมายถึงคำนำหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).

ฐายี

หมายถึง(แบบ) ว. ตั้งอยู่, ดำรงอยู่, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น กัปปัฏฐายี ว่า ตั้งอยู่กัปหนึ่ง. (ป.).

หรือ

หมายถึงสัน. คำบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง; คำประกอบกับประโยคคำถาม เช่น ไปหรือ.

จ๊ะ

หมายถึงว. คำต่อท้ายคำเชิญชวนหลังคำ “นะ” หรือ “ซิ” เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ.

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

นั่นเอง

หมายถึงคำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.

แปลยกศัพท์

หมายถึงก. ยกคำบาลีขึ้นมาแปลเป็นไทยไปทีละคำ.

จั๊วะ

หมายถึงว. คำแต่งคำ ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จ๊วก ก็ว่า.

ติดปาก

หมายถึงก. ใช้คำใดคำหนึ่งบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย.

ลูกคำ

หมายถึงน. เรียกคำ ๒ คำเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่างไปจากคำเดิมว่า ลูกคำของคำตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคำของคำ ลูก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ