ค้นเจอ 327 รายการ

แผล

หมายถึง[แผฺล] น. เนื้อหนังที่แตกแยกออกเพราะเป็นโรคหรือถูกของมีคมเป็นต้น เช่น ขาเป็นแผล; รอยชำรุด เช่น ทุเรียนเป็นแผล เนื้อผลไม้เป็นแผล.

แข้งสิงห์

หมายถึงน. ส่วนหน้าของขาสิงห์ตรงที่เป็นสัน; เรียกการพันกระดาษซึ่งซอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่ด้ามธงว่า พันแข้งสิงห์.

ไม้ล้มลุก

หมายถึงน. ไม้ ๒ ขาสำหรับกว้านของหนักขึ้นไปไว้บนที่สูง เช่น เอาไม้ล้มลุกกว้านพระบรมโกศขึ้นบนเกริน.

ทราม

หมายถึง[ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบเป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.

เต่าหก

หมายถึงน. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria emys ในวงศ์ Testudinidae อาศัยอยู่ในที่ลุ่มตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบหรือในโคลนตมตามริมห้วย ระหว่างขาหลังกับหางมีเกล็ดแหลมใหญ่คล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่ามี ๖ ขา จัดเป็นเต่าบกขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย.

ขัดสมาธิ

หมายถึง[ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย.

สนับเพลา

หมายถึง[-เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้วนุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.

เหน็บ

หมายถึงน. อาการชาและเจ็บแปลบปลาบตามแขนขาเป็นต้น เกิดจากหลอดเลือดและเส้นประสาทหรืออย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณนั้นถูกกดทับระยะหนึ่ง.

กังก้า

หมายถึงว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียกข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).

ราชินี

หมายถึงน. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaiphusa sirikit วงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงอมน้ำเงิน ขอบกระดองและขาก้ามสีขาว ขาสีแดง อาศัยอยู่ตามลำห้วย พบที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี, ปูสามสี หรือปูไตรรงค์ ก็เรียก.

แหก

หมายถึงก. แยกออก, ถ่างออก, ทำให้อ้าออก, เช่น แหกขา, ใช้กำลังฟันฝ่าออกไป เช่น แหกคุก กองทหารตีแหกวงล้อมข้าศึกออกไป.

ขังปล้อง

หมายถึงว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝานข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่ง เพื่อทำเป็นตะขาบเป็นต้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ