ค้นเจอ 275 รายการ

พยุห,พยุห-,พยุหะ

หมายถึง[พะยุหะ-] น. กระบวน, หมู่, กองทัพ, พยู่ห์ ก็ว่า; ชื่อวิธีนับในปักษคณนา. (ป. พฺยูห, วฺยูห; ส. วฺยูห).

ควายเขาเกก

หมายถึงน. ควายที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า.

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

กัตรทัณฑ์

หมายถึง[กัดตฺระ-] (แบบ) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า; ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).

กระเกรอก

หมายถึง[-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).

วัวเขาเกก

หมายถึงน. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.

นิพิท,นิเพท

หมายถึง[นิพิด, นิเพด] (แบบ) ก. ให้รู้ชัด, บอก. (ป. นิ + วิท).

สรทะ

หมายถึง[สะระ-] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. (ป.; ส. ศรท).

กษีร,กษีร-,กษีระ

หมายถึง[กะสีระ] (แบบ) น. นํ้านม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).

กุมภนิยา

หมายถึงน. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์.

ชรออบ

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ชอบ เช่น ธมาพักชรออบ คืนเดียวชอบชีนอน. (ม. คำหลวง กุมาร).

ดีหลี

หมายถึง(ถิ่น) ว. แน่, แท้, แท้จริง, เช่น ธก็แจ้งจริงแท้ดีหลี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), อีหลี ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ