ค้นเจอ 264 รายการ

อังกา

หมายถึงน. ตัวอักษรที่จารไว้หัวลานสำหรับบอกจำนวนใบลานที่จารแล้ว ๑๒ ตัวเป็น ๑ อังกา และ ๒ อังกา เป็น ๑ ผูก.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.

สะกด

หมายถึงก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคำ, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคำที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).

ขลาย

หมายถึง[ขฺลาย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่าทางภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทำฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย. (สมุทรโฆษ).

เสาทุบเปลือก

หมายถึงน. เสาไม้เนื้ออ่อนลำขนาดย่อม ซึ่งทุบแล้วลอกเอาเปลือกออก แต่ไม่ได้ถากแต่ง ใช้ทำเสาเข็ม เสารั้ว เป็นต้น.

พาดหัวข่าว

หมายถึงก. เก็บความสำคัญของข่าว นำมาตีพิมพ์เป็นหัวเรื่องโดยใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ผิดปรกติเพื่อให้เกิดความสนใจ, เรียกข่าวเช่นนั้นว่า ข่าวพาดหัว.

ปรู๊ฟ

หมายถึง[ปฺรู๊บ] น. เรียกกระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพตํ่ากว่ากระดาษปอนด์และกระดาษอาร์ต ว่า กระดาษปรู๊ฟ; งานพิมพ์เป็นต้นเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย. (ปาก) ก. พิสูจน์อักษร.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนอย่างตัว น ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.

ลงนะหน้าทอง

หมายถึงก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.

สาระ

หมายถึงน. ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, เช่น เขียนมายืดยาวแต่มีสาระน้อย ทำดีย่อมได้ดีเป็นสาระสำคัญของเรื่องนี้; ประโยชน์ เช่น เรื่องไม่เป็นสาระ ไร้สาระ.

จารึก

หมายถึงก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.

จรรยาบรรณ

หมายถึง[จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ