ค้นเจอ 210 รายการ

กระโหนด

หมายถึง[-โหฺนด] น. ตาล เช่น ย่านป่าขายพัดกระโหนดคันกลมคันแบนใหญ่น้อย. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา). (แผลงมาจาก โตนด).

กะทิ

หมายถึงน. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือนํ้าบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นจากเนื้อมะพร้าวขูดล้วน ๆ เรียกว่า หัวกะทิ, ของหวานทำด้วยนํ้าตาลกวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้นํ้าตาลมากกว่า เรียกว่า นํ้าตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีนํ้าข้น เนื้ออ่อนกล้ามหนา เรียกว่า มะพร้าวกะทิ. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ.

ศูนย์การค้า

หมายถึงน. แหล่งรวมสินค้าเพื่อจำหน่าย มีร้านขายสินค้านานาชนิด มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้มาซื้อสินค้า เช่น ที่จอดรถ ร้านอาหาร.

แผงลอย

หมายถึงน. ที่ที่จัดไว้ในถนนสาธารณะหรือที่สาธารณะ รวมตลอดถึง อาคาร แคร่ แท่น โต๊ะ แผง เสื่อ พื้นดิน เรือ หรือ แพ สำหรับขายอาหาร น้ำแข็ง หรือสิ่งของอย่างอื่น.

เป้าหมาย

หมายถึงน. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็นศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.

กำสรวล

หมายถึง[-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (โบ กำสรวญ).

ห้าง

หมายถึงน. กระท่อมที่ทำไว้เฝ้านาเฝ้าสวน หรือที่พักเล็ก ๆ ชั่วคราว; ที่ซึ่งทำไว้บนต้นไม้ในป่า สำหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์เป็นต้น.

ปารุสกวัน

หมายถึง[ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).

อรรธจันทร์

หมายถึง[อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขายหรือก้าวขึ้นลง ทำเป็นขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.

สาธารณ,สาธารณ-,สาธารณะ

หมายถึง[สาทาระนะ] ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

ย้อน

หมายถึงก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ