ค้นเจอ 578 รายการ

ทัด,ทัด,ทัดเทียม

หมายถึงว. เท่าเทียม, เสมอ, เช่น ฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดีทัดกัน. (พงศ. เลขา).

สม่ำเสมอ

หมายถึง[สะหฺมํ่าสะเหฺมอ] ว. เสมอเป็นปรกติ เช่น มาประชุมสม่ำเสมอ, เสมอตามกำหนด เช่น ส่งดอกเบี้ยสม่ำเสมอ; ราบเรียบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พื้นไม่สม่ำเสมอ.

ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

หมายถึง(สำ) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคำเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้.

เตโช

หมายถึง(แบบ) น. เดช, เดโช, อำนาจ, ความร้อน, ไฟ. (ป., ส.).

ชวาล

หมายถึง[ชะ-] (แบบ) น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ; ความสว่าง. ว. ซึ่งลุกโพลง, สว่างโพลง. (ส. ชฺวาล; ป. ชาลา).

อัคนิ,อัคนี

หมายถึง[อักนิ, อักคะนิ, อักนี, อักคะนี] น. ไฟ; ชื่อเทพแห่งไฟ. (ส. อคฺนิ; ป. อคฺคิ).

ว่างเว้น

หมายถึงก. งด, เว้น, เช่น ว่างเว้นจากการเสพสุรายาเมา เขาเคยมาเสมอ แต่หมู่นี้ว่างเว้นไป.

นิพัทธ,นิพัทธ-,นิพัทธ์

หมายถึง[นิพัดทะ-, นิพัด] (แบบ) ว. เนือง ๆ, เสมอ, เนื่องกัน. (ป.).

ขมัง

หมายถึง[ขะหฺมัง] (โบ) ว. แรง, แข็งขัน, เช่น สองอาจแข็งขมังขึ้น แบ่งให้กันเสมอ. (กำสรวล).

ทั้งขึ้นทั้งล่อง

หมายถึง(สำ) ว. มีความเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่พ้นไปได้ (มักใช้ในทำนองไม่ดี).

พอกัน,พอ ๆ กัน

หมายถึงว. เสมอกัน, ทัดเทียมกัน, เทียบเท่ากัน, เช่น เก่งพอกัน ฝีมือพอกัน ร้ายพอ ๆ กัน.

เกลี่ยไกล่

หมายถึงก. พูดจาให้ตกลงกัน, พูดให้ปรองดองกัน; ทำให้เรียบร้อย, ทำให้มีส่วนเสมอกัน, ไกล่เกลี่ย ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ