ค้นเจอ 138 รายการ

ลิ้น

หมายถึงน. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลงในลำคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวกเช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดยปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่องอาหาร; อุปกรณ์สำหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.

จักจั่น

หมายถึง[จักกะ-] น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลำตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิดเจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงได้ยินไปไกล ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็นชนิด Dundubia intermerata.

กราบ

หมายถึง[กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน.

จิ้งหรีด

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลำตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทำเสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดำ (Acheta bimaculatus) ทองแดง (Gryllus testaceus), จังหรีด ก็เรียก.

กวางชะมด

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.

ฉลาม

หมายถึง[ฉะหฺลาม] น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน เหงือกส่วนใหญ่มี ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า เดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู (Scoliodon sorrakowvah), ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง (Galeocerdo cuvieri) บางชนิดอยู่สงบตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบ หรือ ฉลามหิน (Chiloscyllium griseum) บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก (Squalus fernandinus) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (Rhincodon typus) บางชนิดหัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ