ค้นเจอ 193 รายการ

ไสกบ

หมายถึงก. กดกบลงบนไม้แล้วดันกบเพื่อทำให้หน้าไม้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด เป็นต้น, ไสไม้ ก็เรียก.

ควั่งคว้าง

หมายถึง[คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).

บาทบงกช

หมายถึง[บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปงฺกช).

อน,อน-

หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).

ฝาละมี

หมายถึงน. สิ่งที่ปิดปากหม้อดินที่เป็นหม้อข้าวหม้อแกง; เรียกส่วนพระเจดีย์ที่เป็นฐานรองรับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา คล้ายฝาละมี ว่า บัวฝาละมี.

เสาหาน

หมายถึงน. เสาเล็กตั้งอยู่เหนือบัลลังก์ รายเป็นวงล้อมก้านฉัตรรองรับขอบบัวฝาละมีในเจดีย์ทรงลังกา; เสาคู่ที่ตั้งอยู่หน้าสุดของมุขเด็จสำหรับรับหน้าบัน.

โบกขรพรรษ

หมายถึง[-พัด] น. ฝนดุจนํ้าตกลงในใบบัว, ฝนชนิดนี้ กล่าวไว้ว่า ใครอยากจะให้เปียก ก็เปียก ถ้าไม่อยากให้เปียก ก็ไม่เปียก เหมือนนํ้าตกลงบนใบบัว. (ป. โปกฺขร ว่า ใบบัว + ส. วรฺษ ว่า ฝน).

อักษรบฏ

หมายถึง[อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ในการเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือแผ่นกระดาษแทนก็มี. (ส.).

บัวบาท

หมายถึงน. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.

ปัทมปาณี

หมายถึงน. ผู้มีดอกบัวในมือ คือ พระพรหม พระวิษณุ, ชื่อหนึ่งหรือปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระหัตถ์ทรงดอกบัว.

กะเทาะ

หมายถึงก. ล่อนหลุดออกมาเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ, ทำให้ล่อนหลุดออก เช่น กะเทาะเม็ดบัว. น. สิ่งของหรือเปลือกไม้ที่หลุดล่อนออกมาจากพื้นเดิมหรือจากต้น เช่น กะเทาะมะขาม.

อาธาร

หมายถึง[-ทาน] น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี; การอุปถัมภ์; อ่าง, หม้อนํ้า, ที่ขังนํ้า, สระ. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ