ค้นเจอ 286 รายการ

วต,วต-,วตะ

หมายถึง[วะตะ-] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).

ศาสดา

หมายถึง[สาดสะดา] น. ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง ๖, คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา. (ส. ศาสฺตา; ป. สตฺถา).

ชีมืด

หมายถึงน. ชีในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ที่ปฏิญาณตนว่าจะบวชตลอดชีวิต ต้องอยู่แต่ในสำนักของตน จะออกไปติดต่อกับบุคคลอื่นแม้แต่ญาติของตนก็ไม่ได้.

คตินิยม

หมายถึงน. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทางศาสนา คตินิยมทางการเมือง. (อ. ideology).

หินยาน

หมายถึง[หินนะ-] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. (ป., ส. หีนยาน).

พุทธกาล

หมายถึงน. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่, พุทธสมัย ก็ใช้, (ปาก) ช่วงระยะเวลาที่เชื่อกันว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ ๕,๐๐๐ ปี. (ป.).

กลอนสวด

หมายถึงน. กลอนที่อ่านเป็นทำนองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่งมักเป็นเรื่องในศาสนา.

ประสก

หมายถึง(ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).

สัปดาหะ

หมายถึง[สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริมพระพุทธศาสนา สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).

อุปนิษัท

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).

นักบุญ

หมายถึงน. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทำความดีไว้มากเมื่อตายแล้วได้รับยกย่องว่าเป็นผู้สำเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, ผู้ยินดีในการบุญ.

นิกาย

หมายถึงน. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ