ค้นเจอ 149 รายการ

กรวด

หมายถึง[กฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, จรวด ก็เรียก. ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด, คู่กับ หลังคาดาด, ในคำประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

กมเลศ

หมายถึง[กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ในสันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).

หล่อน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สำหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้งบุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

เอย,เอย,เอ่ย,เอ่ย

หมายถึงคำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).

โอ้

หมายถึง(กลอน) อ. คำในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคยเลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.

กมัณฑลุ

หมายถึง[กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).

แนม

หมายถึงก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริกมีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.

กระพัด

หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

อุตตานภาพ

หมายถึง[อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัดทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).

กง

หมายถึงน. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือ ไร่ที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้).

ตะพัก

หมายถึงน. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดินสูงขึ้นหรือต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตรก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเลเป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

พก

หมายถึงน. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอาเก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทำลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมาจึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คำหลวง ชูชก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ