ค้นเจอ 377 รายการ

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ลิ้นแข็ง

หมายถึงว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ไม่ชัด, อาการที่พูดภาษาอื่นให้ชัดได้ยาก.

สั่งสอน

หมายถึงก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็นคนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.

จตุ,จตุ-

หมายถึง[จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).

อักษรลักษณ์

หมายถึง[อักสอระลัก, อักสอนลัก] น. จดหมาย, ในบทกลอนมักใช้ว่า ลักษณ์.

ศาสนธรรม

หมายถึงน. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.

อัจฉริยลักษณ์,อัจฉริยลักษณะ

หมายถึงน. ลักษณะดีเด่นเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่น อัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทย อัจฉริยลักษณะของมหาบุรุษ.

ส่วย

หมายถึงน. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน.

พาณี

หมายถึงน. เสียง, ถ้อยคำ, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).

คำเติม

หมายถึงน. คำที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคำตั้งในภาษาคำติดต่อ.

อักษรสาส์น

หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.

อุปเทศ

หมายถึง[อุปะเทด, อุบปะเทด] น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนำ; คำสั่งสอน, คำชี้แจง, คำแนะนำ. ก. สอน, ชี้แจง, แนะนำ. (ส., ป. อุปเทส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ