ค้นเจอ 1,268 รายการ

รัดเครื่อง

หมายถึงก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้าให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.

รัดช้อง

หมายถึงน. เครื่องประดับสำหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า.

รัดประคด

หมายถึงน. ผ้าที่ใช้รัดอกหรือสายที่ถักด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับรัดเอวของภิกษุสามเณร, เรียกสั้น ๆ ว่า ประคด, ถ้าใช้รัดอก เรียกว่า ประคดอก, ถ้าใช้รัดเอว เรียกว่า ประคดเอว.

รัดรึง

หมายถึงก. กอดแน่น, ผูกแน่น, เช่น ความรักรัดรึงใจ.

รัตตัญญู

หมายถึง[รัดตันยู] น. ผู้รู้กาลนาน, ผู้มีอายุมาก จำกิจการต่าง ๆ ได้มาก. (ป.).

รัตน,รัตน-,รัตน์,รัตนะ

หมายถึง[รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคำอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

รัตนาภรณ์

หมายถึงน. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.

รัตมณี

หมายถึงน. ทับทิม. (ป. รตฺตมณิ).

รัน

หมายถึงก. ตี เช่น อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้, มักใช้ว่า ตีรันฟันแทง.

รันชนรันแชง

หมายถึง(กลอน) ก. กระทบกระทั่งเกิดปั่นป่วนอย่างคลื่นซัดหรือลมพัด. (ข. รฺชํรฺแชง).

รันทด

หมายถึงก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.

รับ

หมายถึงก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ เช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทำ; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียง เช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ