ค้นเจอ 166 รายการ

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

ยุคมืด

หมายถึงน. ช่วงแรกของสมัยกลางในประวัติศาสตร์ยุโรป ประมาณ ๖๐๐ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๕๐-๑๖๕๐ เป็นยุคที่ประชาชนมีแต่ความมืดมนหมดหวังในชีวิต เพราะถูกพวกตาดมองโกลทำลายล้าง และไม่มีความเจริญทางสติปัญญาเพราะศาสนาไม่เปิดโอกาสให้คิดอย่างเสรี, โดยปริยายหมายถึงยุคที่ประชาชนหมดหวังในชีวิต.

เข้าลิลิต

หมายถึงก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

หมายถึง(กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาทต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).

สลาก

หมายถึง[สะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทำเป็นเครื่องหมายกำหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น เช่น สลากภัต; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า สลากยา, ฉลาก ก็ว่า. (ป.; ส. ศลาก).

มนู

หมายถึงน. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คำ มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).

จระกล้าย

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).

สาบาน

หมายถึงก. กล่าวคำปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน, ประเพณีเดิมจะต้องดื่มนํ้าพระพุทธมนต์ นํ้าเทพมนตร์ หรือ สุราผสมเลือดที่ผู้ร่วมกล่าวคำปฏิญาณกรีดให้หยดลงไปด้วย เช่น สาบานเป็นพี่น้องกัน เพื่อนร่วมสาบาน; (กฎ) กล่าวคำปฏิญาณตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตนว่า จะให้การตามสัตย์จริง. (ป. สปน; ส. ศปน).

กมเลศ

หมายถึง[กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ในสันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).

คดีหมายเลขแดง

หมายถึง(กฎ) น. คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า “คดีแดง” เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๔๐.

แล

หมายถึงว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฿. (เตลงพ่าย).

อุปฮาด

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. (โบ; ถิ่น-อีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่น-พายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจากตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ