ค้นเจอ 979 รายการ

ภาษาราชการ

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

เจ้าถิ่น

หมายถึงน. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต.

มืน

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. ลืม, เปิด, แย้ม, (ใช้แก่ตา) เช่น มืนตา ว่า ลืมตา.

ข้าน้อย

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ส่วย

หมายถึงน. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน.

พี้

หมายถึง(ถิ่น) ว. นี้.

ละมุ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ตามชายห้วย หนอง บึง.

เถียง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สำหรับอยู่เฝ้าข้าว.

ภาษาคำโดด

หมายถึงน. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).

หั้น

หมายถึง(ถิ่น) ว. นั้น.

กระสาบ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). (พจน. ๒๔๙๓).

หัวฟืนหัวไฟ

หมายถึงน. หัวคํ่า เช่น มาแต่หัวฟืนหัวไฟ. (ถิ่น-อีสาน) ว. หัวปี ในคำว่า ลูกหัวฟืนหัวไฟ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ