ค้นเจอ 3,017 รายการ

เนืองนิตย์

หมายถึงว. เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์.

ทำกรรม

หมายถึงก. ทำสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ, ทำกรรมทำเวรก็ว่า.

ดาบสองคม

หมายถึง(สำ) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.

เพลงเสมอ

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.

อาบัติ

หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).

ตรีโทษ

หมายถึงน. อาการไข้ที่ลม เสมหะ เลือด ประชุมกัน ๓ อย่างให้โทษ, ไข้หนักจวนจะตาย. (ส. ตฺริ + โทษ).

โทษโพย

หมายถึง[โทดโพย] (ปาก) น. โทษ, มักใช้แยกกัน เช่น ขอโทษขอโพย ถือโทษถือโพย.

อนวัช,อนวัช-

หมายถึง[อะนะวัด, อะนะวัดชะ-] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตำหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).

ปราศรัย

หมายถึง[ปฺราไส] น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คำปรารภ. ก. พูดด้วยไมตรีจิต, พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; ปรารภ. (ส. ปฺรศฺรย).

ปรับ

หมายถึง[ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทำให้เรียบ, ทำให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทำผิด, ลงโทษให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.

เสาะแสวง

หมายถึงก. ใช้ความพยายามมากเพื่อค้นหา เช่น ของชิ้นนี้เป็นของหายาก เขาอุตส่าห์ไปเสาะแสวงมาให้.

ประดิทิน

หมายถึงว. ประจำวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอันบรรดาจำบำเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ