ค้นเจอ 275 รายการ

ทรสองทรสุม

หมายถึง[ทอระสองทอระสุม] (กลอน) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา. (ม. คำหลวง มหาพน).

ปุพพะภัททะ,บุรพภัทรบท

หมายถึง[-พัดทะ, บุบพะพัดทฺระบด, บุระพะพัดทฺระบด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.

ทับลัคน์

หมายถึง(โหร) ก. ลักษณะที่ดาวพระเคราะห์มีตำแหน่งอยู่ในเรือนเดียวกันหรือจรมาร่วมลัคนา.

ทางช้างเผือก

หมายถึงน. แสงกลุ่มดาวซึ่งแผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า.

ชุติ

หมายถึง(แบบ) น. ความโพลง, ความรุ่งเรือง, ความสว่างไสว; ดวงดาว. (ป.; ส. ชฺยุติ).

หัสตะ,หัฏฐะ,หัฏฐะ

หมายถึง[หัดสะตะ, หัดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็น รูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

หัฏฐะ,หัฏฐะ,หัสตะ

หมายถึง[หัดถะ, หัดสะตะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

อนุราธ,อนุราธะ,อนุราธา

หมายถึง[อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก.

บุรพภัทรบท,ปุพพะภัททะ

หมายถึง[บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.

ปฏิทินโหราศาสตร์

หมายถึงน. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์ประจำวัน, ปูม ก็เรียก.

วันแข็ง

หมายถึง(โหร) น. วันซึ่งถือว่าดาวมีพลังแรง ได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันเสาร์.

ภุม,ภุม,ภุม-,ภุม-

หมายถึง[พุม, พุมมะ-] น. ดาวอังคาร; วันอังคาร. (ป. ภุมฺม; ส. เภาม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ